อาจารย์วิวรรต์ ครูผู้สอน

อาจารย์วิวรรต์  ครูผู้สอน
อาจารย์ผู้สอนวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของสุภาพรค่ะ

การเรียนเทคโนโลยีการศึกษา

Techno มาจากภาษากรีกว่า Technologia หมายถึงการกระทำอย่างมีระบบ ภาษาละติน มาจากคำว่า Texere หมายถึงการสานหรือการสร้าง (เสาวณีย์,2528)
มีผู้ให้คำนิยามของคำว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ไว้ดังนี้ เช่น
...............................วิจิตร ศรีสอ้าน (วิจิตร ,2517)ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงาน
............................ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2546)ยังได้สรุปเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" มีความหมายครอบคลุมการผลิต การใช้ และการพัฒนาสื่อสารมวลชน(อันได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์) เทคโนโลยีสารสนเทศ(คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต มัลติมีเดีย) และโทรคมนาคม (โทรศัพท์ เครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารอื่นๆ) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ตามความต้องการของผู้เรียนในทุกเวลาและทุกสถานที่
.............................ทบวงมหาวิทยาลัย (ทบวงมหาวิทยาลัย,2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
………………….."เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด


แผนภูมิแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษา

แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษาจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ(design) การพัฒนา (Development) การใช้(utilization)การจัดการ (management)และการประเมิน(evaluation)ซึ่งแต่ละกลุ่มจะโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฏีและปฏิบัติดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นผสมผสานกันระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นการประยุกต์เอาแนวคิดความคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษานั้นเอง
เนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) เป็นสาขาที่รวมเอาแนวคิดของสาขาอื่นๆหลากหลายสาขาเข้ารวมอยู่ด้วยกันดังนั้นแนวคิดต่อไปนี้เป็นคำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาสมบูรณ์


1 เทคโนโลยีการศึกษา คือกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการที่เกี่ยวกับคน การดำเนินการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา และการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งปวงของมนุษย์
2 เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) แตกต่างจากเทคโนโลยีในทางการศึกษา (Technology in Education)
เทคโนโลยีในทางการศึกษาเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถาบันต่างๆ ที่จัดการกิจการทางการศึกษา รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านอาหาร สุขภาพ อนามัย การเงิน การจัดเวลา การรายงานผลการเรียน และกระบวนการอื่น ซึ่งใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในสถาบันนั้น ดังนั้นเทคโนโลยีในทางการศึกษาจึงไม่เหมือนกับเทคโนโลยีการศึกษา
3 เทคโนโลยีการศึกษาแตกต่างจากเทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอนเป็นเซทย่อยของเทคโนโลยีการศึกษาตามพื้นฐานหลักการความคิดรวบยอดที่ว่า "การสอนเป็นเซทย่อยของการศึกษา" เทคโนโลยีการสอนเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดซับซ้อน และมีบูรณาการเกี่ยวกับคน ดำเนินงาน ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาเหล่านั้น
4 คำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งขึ้นเป็นทฤษฎีได้เพราะว่าถึงเกณฑ์ข้อกำหนดดังนี้
1) ความมีอยู่ของปรากฏการณ์/วัตถุ
2) มีคำอธิบาย
3) มีการสรุป
4) มีการนิเทศ
5) มีการจัดระบบ
6) มีคำอธิบายช่องโหว่ส่วนที่ละเลยหรือยังไม่กระจ่าง
7) มียุทธิวิธีเพื่อการวิจัยศึกษาค้นคว้า
8) มีคำทำนายผล
9) มีหลักการหรือชุดของหลักการ
5 เทคโนโลยีการศึกษามีเทคนิคเชิงวิชาการที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีระบบเพื่อการแก้ปัญหา ในหน้าที่พัฒนาการและการจัดการแต่ละชนิดนั้น จะมีเทคนิคเชิง "ปัญญา" รวมอยู่ด้วย
6 เทคโนโลยีการศึกษามีการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการ ในส่วนทรัพยากรการเรียนและการประกอบกิจของหน้าที่พัฒนาการ และการจัดการนั้นก่อให้เกิดเป็นี่เป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการนี้อย่างชัดเจน
7 เทคโนโลยีการศึกษามีแนวทางเพื่อการฝึกอบรม และมีขอบข่ายระบบสมรรถวิสัยการฝึกอบรม กลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นลักษณะพิเศษภายในสาขาวิชา เช่น เกี่ยวกับระดับของการประกอบกิจในสาขาเฉพาะลักษณะพิเศษนี้คือ 1) การพัฒนาโครงการการเรียนการสอน 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อ 3) การจัดการสื่อ
8 เทคโนโลยีการศึกษาได้มีมาตรการเพื่อการพัฒนา และการปรับใช้การส่งเสริมความเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำในสาขาวิชาการจัดทำได้โดยการจัดสัมมนา หรือ การฝึกอบรมระยะสั้น นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษายังให้ความรู้ในหน้าที่ความเป็นผู้นำที่บรรจุอยู่ในสาขาการศึกษา โดยโครงการความร่วมมือแบบกลุ่มเครือข่ายหรือโครงการตามความตกลงร่วมกันและสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่
9 เทคโนโลยีการศึกษามีสมาคมและการสื่อสารในสาขาวิชาชีพ (ของสหรัฐอเมริกามีสมาคม Association for Educational Communications and Technology) และเพื่อเอื้ออำนวยต่อการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกก็จัดให้มีวารสาร 3 ฉบับ ช่วยสนองการพัฒนาการปรับใช้ประทัดฐานและจรรยาบรรณ ความเป็นผู้นำ การฝึกอบรม และการรับรองของวิชาชีพนี้
10 เทคโนโลยีการศึกษาได้รับการยอมรับเป็นวิชาชีพชั้นสูงสุดสาขาหนึ่ง โดยการรับรองตัวเองจากสมาคมวิชาชีพและกิจกรรมที่ดำเนินการ
11 เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินงานในบริบทของสังคมอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนในฐานะวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของวิชาชีพต่างๆ ที่ตระหนักในเทคนิคเชิงปัญญาและการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการตามเอกลักษณ์ของเทคโนโลยีการศึกษา นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษาก็ยังเป็นที่ยกย่องในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอิสระทางปัญญา การแสดงออกหลักการ/กิจกรรมที่เหมาะสม ต่อต้านวัสดุปัจจัยที่ไม่พัฒนาและ แก้ไขและเพิ่มพูนเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นมนุษย์และชีวิตที่สมบูรณ์
12 เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินการในขอบข่ายส่วนรวมทั้งหมด ของสาขาการศึกษา ในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่น ๆ นั้น จะเป็นการให้การสนับสนุนที่มีความเสมอภาคทัดเทียมกันและให้ความร่วมมือกันประสานสัมพันธ์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ นั้น
13 เนื่องจากคำนิยามดังที่นำเสนอมาแล้วนี้ตรงกับทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับการอธิบาย หรือการพิสูจน์และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ และเนื่องจากคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ของสาขาวิชาการ เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นสาขาวิชาการหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียดซับซ้อนและมีบูรณาการ เพื่อการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ นอกจากนี้เนื่องจากว่าคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ความเป็นวิชาชีพชั้นสูง เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยระบบการให้การสนับสนุนการปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา ดังนั้นคำนิยาม เทคโนโลยีการศึกษาในฐานะเป็นทฤษฎี เป็นสาขาวิชาการ เป็นสาขาวิชาการ เป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุผล ซึ่งตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
14 ผู้ที่เป็นสมาชิกสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาคือผู้ที่ประกอบกิจกรรมที่อยู่ภายในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานหลักการในขอบข่ายทางทฤษฎีและการใช้เทคนิคเชิง "ปัญญา" ของเทคโนโลยีการศึกษา
15 ผู้ที่เป็นสมาชิกวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ ตรงตามข้อกำหนดเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบกิจในหน้าที่ตามอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา และแสดงการยอมรับมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และได้รับการฝึกอบรมและการรับรองตามข้อกำหนดของวิชาชีพ ได้รับพัฒนาความเป็นผู้นำ เป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพ และร่วมในกิจกรรมการติดต่อสื่อสารของสมาคม โดยการอ่านวารสารหรือเข้าร่วมประชุม ได้รับการรับรองว่าเป็นสมาชิกของสาขาวิชาชีพ เป็นผู้ตระหนักในวิชาชีพในฐานะเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับ (วินิจฉัยจากทักษะการดำเนินงานและ การยอมรับค่านิยมที่สาขาวิชาชีพกำหนด และในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่นบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคความร่วมมือประสานสัมพันธ์กัน) บุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นนี้เรียกว่า "นักเทคโนโลยีการศึกษา"
16 ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการเรียนการสอนโดยส่วนรวม จะเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นแบบบูรณาการ ทำให้มีพื้นฐานหลักการร่วมสำหรับวิชาชีพต่างๆ ในทุกประเด็นที่บุคคลปฏิบัติงานนั้นอยู่ ให้การสนับสนุนการพัฒนาและบูรณาการเครื่องมือ วัสดุ และวิธีการใหม่ที่ดำเนินการร่วมกัน

ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา โดย ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (ชัยยงศ์และคณะ ,2544)
เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง 2536. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทบวงมหาวิทยาลัย
ไพโรจน์ เบาใจ 2539. แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต, เทคโนโลยีการศึกษา.
สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทยรายวันการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษา 2542.
กรุงเทพมหานคร.
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต 2528 เทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
อรพรรณ พรสีมา 2530. เทคโนโลยีทางการสอน. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
Association for Educational Comminations and Tecolog (AECT). Educational Technology:
A Glossary of Terms. Washington D.C.: Association for Educational Communications and
Technology,1977.
Banathy, B.H. Instructional System. Belmont, California: Fearow Publishers, 1968.
Brown. James W.; Lewis, Richard B.;and Harcleroad, Fred F. AV Instruction : Technology ,
Media. And Methods . 6 th ed. New York : McGraw - Hill Book Company, 1985
Dale, Edgar. Audio - Visual Methods in Teaching. 3 rd ed. New York:
Holt, Rinehart and Winstion, 1969.
De Kieffer, Robert E. Audio - Visual Instruction. New York :
The center for Applied Research in Education, Inc., 1965.
Ely, Donald P., ed. " The Field of Educational Technology :
A Statement of Definition," Audiovisual Instruction. (October 1972 ),36-43.
Gagne, Robert M. and Briggs, Leslie J. Principles of Instructional Design. New York :
Holt, Rinehart and Winston 1974.
Good, Carter V. Dictionary of Education . 3 rd ed. New York :
McGraw - Hill Book Company, 1973.
Heinich, Robert ; Molenda, Michael; and Russell, James D. Instructional Media and the New
Technologies of Instruction. 3 rd ed. New York: John Wiley & Sons,1989
Kemp, Jerrold E. The Instructional Design Process. New York : Harper & Row, Publishers, 1985
Schramm, Wilbur. "Procedure and Effects of Msaa Communication. "Mass Media and Education.
The Fifty - Third Yearbook of the National Society for the National Society for the Study of
education, Part II . Edited by Nelson B. Henry. Chicago : University of Chicago Press, 1954.
Shannon, laude E. and Weaver, Warren. The Mathematical Theory of Communication Champaign :
the UniversityofIllinois, 1949
การพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคต่างๆ
การพัฒนาการการศึกษาที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้คือ
ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค.ศ.1700 การศึกษาช่วงเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการที่ช้ามาก การจัดการเรียนการสอนอยู่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ การสื่อสารยังไม่เจริญ การจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษามีดังนี้
1 เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์
เป็นที่รู้จักในนามของกลุ่ม Elder Sophist คำว่า Sophist หรือ Sophistes ในยุคนั้น (450- 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้รู้ ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่ 5 คน คือ โปรตากอรัส, จอจิแอส, โปรดิคอส, ฮิปเปียส และทราซีมาคัส ซึ่งบางทีอาจจะเรียกได้ว่าเป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษากลุ่มแรกก็ได้

รูปแบบการสอนของกลุ่มโซฟิสต์มี 3 ขั้นตอนคือ
- เตรียมคำบรรยายอย่างละเอียด
- เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่เขาต้องการรู้
- บรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง
หลักการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพูดในที่สาธารณะ (Public Lecture) และนอกจากนั้นกลุ่มโซฟิสต์ยังได้ใช้ระบบการพบปะสนทนากับผู้เรียน (Tutorial System) เพื่อสร้างสัมพันธ์กับ ผู้เรียนด้วย ลักษณะการแบบนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการสอนแบบมวลชน (Mass Instruction) ได้เช่นกัน
2 เทคโนโลยีการศึกษาของโสเครติส (ค.ศ.399-470) โสเครตีส เพลโตและเซโนฟอนลูกศิษย์ของเขา วิธีการสอนของโสเครติส ที่อธิบายไว้ใน Plasto's Meno นั้น มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด วิธีการของ โสเครติสนี้อาจจะเทียบได้กับวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
3 เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์ด ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ยุโรปเริ่มตื่นตัวในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบมีสถานศึกษาหรือโรงเรียน
4 เทคโนโลยีทางการศึกษาของคอมินิอุส



พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1700-1900 (พ.ศ.2243-พ.ศ.2443) ก่อนปี ค.ศ.1800 ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น แต่ความขาดแคลนสถานที่เรียนเริ่มเป็นปัญหาสำคัญ ดังนั้น ปัญหาเรื่องประชากรอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้จึงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับประชาชนที่ยากจนในอเมริกาในยุคนั้น ประกอบกับในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาขยายงานด้านอุตสาหกรรม มีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานและบ้านเมืองมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการทางการศึกษาก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แต่วิธีการสอนแบบเก่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นจึงได้เกิดระบบแลนคาสเตอร์ขึ้นมาในอเมริกา เพื่อจัดการศึกษาแบบมวลชน (Mass Education) ซึ่งเสนอวิธีการศึกษาแบบประหยัด
1 เทคโนโลยีการศึกษาของแลนตาสเตอร์
วิธีการสอนของแลนคาสเตอร์ พยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ราคาถูกและประหยัด วัสดุที่ใช้ เช่น กระดานชนวน กระบะทราย แผนภูมิ ผนังและกระดานดำ ทำให้ประหยัดกระดาษและหมึกได้มากกว่า
วิธีสอนของแลนคาสเตอร์ มีรายละเอียดที่สำคัญอยู่ 6 ประการ คือ
1 การสอนความจำด้วยการท่องจำเนื้อหา
2 การฝึกแบบมีพี่เลี้ยง
3 การควบคุม
4 การจัดกลุ่ม
5 การทดสอบ
6 การจัดดำเนินการหรือบริหาร

2 เทคโนโลยีการศึกษาของเปสตาลอสซี
ทฤษฎีทางการศึกษาของเปสตาลอสซี เป็นที่รู้จักกันดีจากคำพูดของเขาเอง คือ "I wish to psychologize Instruction" ซึ่งหมายถึง การพยายามทำให้การสอนทั่วไปเข้ากันได้กับความเชื่อของเขาอย่างมีระเบียบและปรับปรุงพัฒนาไปด้วยกัน เขารู้สึกว่าศีลธรรม สติปัญญาและพลังงานทางกายภาพของผู้เรียนควรจะได้รับการคลี่คลายออกมา โดยอาศัยหลักธรรมชาติในการสร้างประสบการณ์อย่างเป็นขั้นตอน จากหลักการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เปสตาลอสซีเชื่อว่า กระบวนการสอนโดยการเพิ่มความรู้สึกต่อความรู้ในเรื่องความเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังคำนึงถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลอันจะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย เปสตาลอสซี ได้เสนอแนะกระบวนการของการรับความรู้ของผู้เรียนเป็น 3 ขั้นตอน คือ
1 ให้รู้ในเรื่องส่วนประกอบของจำนวน (เลขคณิต)
2 ให้รู้ในเรื่องของรูปแบบ (Form) เช่น การวาด การเขียน เป็นต้น
3 ให้รู้จักชื่อ และภาษาที่ใช้
นอกจากนั้น เปสตาลอสซี ยังมีความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนการสอน พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1 รากฐานสำคัญยิ่งของการให้ความรู้ก็คือ การหัดให้นักเรียนรู้จักใช้การสังเกต (Observation and Sense-Perception)
2 การเรียนภาษา ครูต้องพยายามให้นักเรียนใช้การสังเกตให้มากที่สุด นั่นคือ เมื่อเรียนถ้อยคำก็ต้องใช้คู่กับของจริงที่เขาใช้เรียกชื่อสิ่งนั้น
3 การสอนครูต้องเริ่มต้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วจึงเพิ่มความยากขึ้นไปตามลำดับ
4 เวลาเรียนต้องให้นักเรียนเรียนจริง ๆ อย่าเสียเวลาไปกับการวิพากษ์วิจารณ์ความรู้เหล่านั้น
5 ให้เวลาเพียงพอแก่นักเรียนแต่ละคน
6 ต้องยอมรับในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
7 ต้องทำให้นักเรียนรู้สึกว่าโรงเรียนไม่ต่างไปจากที่บ้าน

3 เทคโนโลยีทางการศึกษาของฟรอเบล

ควบคุมดูแลเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่เท่านั้นเช่นเดียวกับจุดมุ่งหมายของคนทำสวนคือการควบคุมดูแลต้นไม้ต้นเล็ก ๆ ไปจนมันเจริญเติบโตออกดอกผลในที่สุด องค์ประกอบพื้นฐานในการให้การศึกษาแก่เด็กของฟรอเบล มีอยุ่ 4 ประการคือ
1 ให้โอกาสผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างเสรี
2 ให้โอกาสผู้เรียนได้คิดสร้างสรรค์
3 ให้โอกาสผู้เรียนได้มีส่วนร่วม
4 ให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกทางกลไกหรือกายภาพ อันได้แก่ การเรียนโดยการกระทำ (To Learn a thing by doing not through verbal Communications alone)


วิธีสอนของฟรอเบลเน้นที่การสอนเด็กอนุบาล ดังนั้นการสอนจึงออกมาในรูปการเรียนปนเล่น ซึ่งมีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ
1 การเล่นเกมและร้องเพลง
2 การสร้าง
3 การให้สิ่งของและใช้งาน


4 เทคโนโลยีการศึกษาของแฮร์บาร์ท

แฮร์บาร์ท เป็นนักการศึกษาคนหนึ่งที่สืบทอดเจตนารมย์ของคอมินิอุสและเปสตาลอสซีนักการศึกษาทั้งสอง และได้ชี้ให้เห็นแนวทางในการสร้างความคิดรวบยอดใหม่จากความคิดรวบยอดเดิม นอกจากนั้น แฮร์บาร์ทยังได้เน้นในเรื่องของจริยธรรม (Moral) โดยถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของ
ทฤษฎีทางการศึกษาของแฮร์บาร์ท ค่อนข้างจะแตกต่างไปจากนักการศึกษา รุ่นก่อน ๆ กล่าวคือ แฮร์บาร์ทได้วางรากฐานเกี่ยวกับวิธีสอนของเขาโดยอาศัยระบบจิตวิทยาการเรียนรู้ นับได้ว่าเขาได้เป็นผู้ริเริ่มจิตวิทยาการเรียนรู้สมัยใหม่เป็นคนแรกที่สอดคล้องกับวิธีการของ Locke ที่เรียกว่า Tabula Rasa (Blank Tablet) เกี่ยวกับทฤษฎีทางจิต และได้สรุปลำดับขั้นสองการเรียนรู้ ไว้ 3 ประการ ดังนี้
1 เริ่มต้นด้วยกิจกรรมทางวิถีประสาท (Sense Activity)
2 จัดรูปแบบแนวความคิด (Ideas) ที่ได้รับ
3 เกิดความคิดรวบยอดทางความคิดหรือเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้น


เทคโนโลยีการศึกษา ค.ศ.1900-ปัจจุบัน (พ.ศ.2443-ปัจจุบัน)
1 เทคโนโลยีการศึกษาของธอร์นไดค์

จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน กฎทั้ง 3 ได้แก่
1 กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ซึ่งเขาได้ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
2 กฎแห่งผล (The Law of Effect) เป็นกฎที่มีชื่อเสียงและได้รับความสนใจมากที่สุด ใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรมนั้นมากขึ้น แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
3 กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) กฎนี้หมายถึงความพร้อมของร่างกาย ในอันที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา

2 เทคโนโลยีการศึกษาของดิวอี้

นักจิตวิทยาการเรียนรู้ของจอห์น ดิวอี้ ตรงกับข้ามกับ ธอร์นไดค์ ดิวอี้ เชื่อว่าสิ่งเร้ากับปฏิกิริยาตอบสนอง ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ดิวอี้ ได้โจมตีพวกมีความเชื่อในเรื่องมโนภาพแบบสะท้อนกลับ (The Reflect Arc Concept) ซึ่งยืนยันการเรียนรู้รวมเอาการมีผลกระทบต่อกัน ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อมของเขาเข้าไว้ด้วยจากการทดลองของดิวอี้ที่มีต่อเทคโนโลยีการศึกษานั้น น่าจะได้
3 เทคโนโลยีการศึกษามอนเตสซอรี


4 เทคโนโลยีการศึกษาของเลวิน


5 ทฤษฎีการศึกษาของสกินเนอร์


พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต
............................ตลอดระยะเวลาประมาณ 2 ศตวรรษ นับแต่ปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา สื่อการศึกษาบางประเภท ได้ถูกนำมาใช้กับงานการศึกษามากขึ้น ผลจากการค้นคว้าทดลองของนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์บวกกับแนวความคิดของนักการศึกษา ก่อให้เกิดความก้าวหน้าใหม่ ๆ ทางเครื่องมือทางการศึกษาขึ้น เช่น ทางด้านการใช้โทรทัศน์เพื่อการศึกษามวลชน การใช้โทรศัพท์ในลักษณะวงจรปิดเพื่อเรียนเป็นกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีวีดิโอเทป ซึ่งกลุ่มผู้เรียนเป้าหมายแคบลง ๆ การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ มาพ่วงกับความคิดและการพัฒนาการสอนในลักษณะใหม่ เช่น การเรียนด้วย
.............................ในช่วงทศวรรษที่ 1950 วิทยุโทรทัศน์เกิดเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมตะวันตกซึ่งสามารถใช้เป็นสื่อเพื่อการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยุโทรทัศน์จึงมีบทบาทสำคัญและกลายเป็นเทคโนโลยีแถวหน้าของสังคมนับแต่บัดนั้น นักวิชาการบางท่านถือว่าช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1950 ถึง 1960 นี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเนื่องจากการก่อกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์ และยังได้มีการนำเสนอเอาทฤษฏีทางด้านสื่อสารมวลชนและทฤษฏีระบบเข้ามาใช้ในวงการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอีกด้วย ดังนั้น ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1950 จึงมีการใช้คำว่า "การสื่อสารทางภาพและเสียง" หรือ "audio-visual communications" แทนคำว่า "การสอนทางภาพและเสียง"
พัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย
เทคโนโลยีการศึกษาของไทยมีการพัฒนาการมา 3 ยุค คือ
1 ยุคแรกสมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงธนบุรี ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาของไทย ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรง ประดิษฐ์อักษรไทย เพราะตัวอักษรเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเผยแพร่วิทยาการต่างๆ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น และทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกหวงแหนชาติไทยนอกจากนี้พระองค์ยังทรงเอาใจใส่ต่อการศึกษาของประชาชนด้วย ดังเช่น การสั่งสอนประชาชน ณ พระแทนมนังคศิลา ทั้งด้วยพระองค์เองและทรงนิมนต์พระภิกษุมาสั่งสอน เล่าเรื่อง การเทศนา การเขียนเป็นหนังสือ ฯลฯ ยุคนี้มีเทคโนโลยีการศึกษาผ่านสื่อวรรณกรรมที่สำคัญ 2 เรื่อง คือ ภาษิตพระร่วง และไตรภูมิพระร่วง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เทคโนโลยีการศึกษาได้ก้าวหน้าไปมาก ทั้งด้านวิชาการทั้งในประเทศและวิทยาการจากประเทศตะวันตก หนังสือเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ จินดามณีก็เกิดขึ้นในยุคนี้ นอกจากนี้ก็มี วรรณกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงดำเนินนโยบายต่างประทศระบบเปิด ต้อนรับชาวต่างประเทศ การค้าและการศาสนา ส่วนหนึ่งของชาวยุโรปเหล่านี้ ได้แก่ คณะมิชชั่นนารี ได้นำวิทยาการใหม่ ๆ หลายประการจากยุโรปมาเผยแพร่ในประเทศด้วย เช่น การพิมพ์ การจัดตั้งโรงเรียน แต่วิทยาการเหล่านี้ไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจัง ก็เลิกล้มไปเพราะพระมหากษัตริย์สมัยหลังสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม่ต้องการให้ชาวยุโรปเข้ามาดำเนินการกิจการต่างๆ ในประเทศไทย ในสมัยกรุงธนบุรี เทคโนโลยีการศึกษามีไม่มากนัก ทั้งนี้เพราะประเทศได้รับความเสียหายมาก จากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 พระเจ้ากรุงธนบุรีใช้เวลาส่วนใหญ่ในการรวบรวมคนไทย และบูรณะประเทศให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งสมัยนี้มีระยะเวลาสั้นเพียง 15 ปีเทคโนโลยีการศึกษาในสมัยนี้จึงมีเพียงวรรณกรรมเท่านั้น

2 เทคโนโลยีการศึกษายุคปรับเปลี่ยน ในยุคนี้นับตั้งแต่สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกา ได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยมากขึ้น แทนอังกฤษและฝรั่งเศษ สหรัฐอเมริกาได้นำเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่หลายอย่างมาเผยแพร่ในประเทศไทย เริ่มต้นด้วยภาพยนตร์ ที่สำนักข่าวสารอเมริกัน ได้นำมาฉาย หลายเรื่องมาสามารถนำมาใช้ในการศึกษาได้ ทำให้คนไทยเห็นคุณค่าของภาพยนตร์เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา กองการศึกษาผู้ใหญ่ กระทรวงศึกษาธิการเริ่มนำภาพยนตร์มาใช้ในการให้การศึกษา ในยุคนี้เองได้มีการบัญญัติศัพท์ " โสตทัศนศึกษา" ขึ้นโดยมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Audio Visual

โสตทัศนศึกษาในยุคนี้พัฒนาอย่างมีระบบแบบแผน อีกทั้งได้มีการเปิดสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งขั้นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทำให้ก้าวหน้ากว่าทุกยุคที่ผ่านมาโดยเฉพาะสหรัฐมเมริกาเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในการจัดการศึกษาของไทย ทั้งนี้เพราะมีนักการศึกษาและผู้บริหารการศึกษาคนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้ แบ่งออกได้เป็นรูปแบบต่างๆดังนี้
1 เทคโนโลยีการสอน ได้มีการคิดค้นวิธีการเรียนการสอนใหม่ ๆ ขึ้นมาหลายอย่าง ทั้งจากการประยุกต์จากวิทยาการของต่างประเทศและจากการสร้างขึ้นมาเอง เช่น ระบบการเรียนการสอนแบบศูนย์การเรียน ระบบการสอนแบบเบญจขันธ์ ระบบการสอนแบบจุลภาค ระบบการการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ฯลฯ ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นนี้ ล้วนเอาแนวคิดจากตะวันตกมาทั้งสิ้น
2 เทคโนโลยีด้านสื่อ สื่อการศึกษาในยุคนี้ส่วนใหญ่พัฒนามาจากผลิตผลทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพโปร่งใส นอกจากนี้ยังได้มีการนำวิทยุและวิทยุโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษาด้วย แต่การนำรูปแบบสื่อจากประเทศตะวันตกมาใช้ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ เพราะสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน นักการศึกษาของไทยจึงได้พัฒนาสื่อการศึกษาขึ้นมาเองเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ โดย การใช้ทรัพยากรพื้นบ้าน ใช้สื่อราคาเยาว์เช่น ผลงานวัตกรรมพื้นบ้านเพื่อการสอนของธนู บุญรัตพันธุ์ วิธีการและวัสดุอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์ที่ผู้สอนคิด ประดิษฐ์ขึ้นเองเช่นวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของ โช สาลีฉันท์ ซึ่งมีผลิตผลที่ใช้วัสดุเหลือใช้ต่างๆ ในท้องถิ่น จึงเป็นแนวโน้มที่ดีในการเลือกและใช้สื่อในการศึกษา
3 การจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการจัดตั้งสถาบันและหน่วยงานต่างๆขึ้นเช่น ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสถาบันการศึกษาต่างๆก็มีการจัดตั้งศูนย์ที่ทำหน้าที่ด้านสื่อขึ้นมา เพื่อตอบสนองและส่งเสริมประสิทธิภาพในการศึกษาของผู้เรียนให้มากขึ้น


3 ยุคสารสนเทศ
เทคโนโลยีการศึกษาในยุคสารสนเทศ เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารเป็นอย่างยิ่งคือเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการสื่อสารและสังคมทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย เทคโนโลยีการศึกษาในยุคนี้จึงแบ่งได้เป็น รูปแบบคือ
1 เทคโนโลยีด้านสื่อ
2 เทคโนโลยีการสื่อสาร
3 เทคโนโลยีด้านระบบ
4 เทคโนโลยีการสอน

มุมมองเทคโนโลยีที่สมัยเก่ามองเป็นภาพของโสตทัศนศึกษาเปลี่ยนไป ปรับเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษายังอยู่แต่เน้นการนำเอาเทคโนโลยีสื่อสารและการสนเทศ (Information and Communication Technology) มาใช้เพื่อความทันสมัยและทันกับความก้าวหน้าของการสื่อสาร
เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง 2536. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพโรจน์ เบาใจ 2539. แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต, เทคโนโลยีการศึกษา.
สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทยรายวันการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษา 2542.
กรุงเทพมหานคร.
อรพรรณ พรสีมา 2530. เทคโนโลยีทางการสอน. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
Association for Educational Comminations and Tecolog (AECT). Educational Technology:
A Glossary of Terms. Washington D.C.: Association for Educational Communications and
Technology,1977.
Banathy, B.H. Instructional System. Belmont, California: Fearow Publishers, 1968.
Brown. James W.; Lewis, Richard B.;and Harcleroad, Fred F. AV Instruction : Technology ,
Media. And Methods . 6 th ed. New York : McGraw - Hill Book Company, 1985
Dale, Edgar. Audio - Visual Methods in Teaching. 3 rd ed. New York:
Holt, Rinehart and Winstion, 1969.
De Kieffer, Robert E. Audio - Visual Instruction. New York :
The center for Applied Research in Education, Inc., 1965.
Ely, Donald P., ed. " The Field of Educational Technology :
A Statement of Definition," Audiovisual Instruction. (October 1972 ),36-43.
Gagne, Robert M. and Briggs, Leslie J. Principles of Instructional Design. New York :
Holt, Rinehart and Winston 1974.
Good, Carter V. Dictionary of Education . 3 rd ed. New York :
McGraw - Hill Book Company, 1973.
Heinich, Robert ; Molenda, Michael; and Russell, James D. Instructional Media and the New
Technologies of Instruction. 3 rd ed. New York: John Wiley & Sons,1989
Kemp, Jerrold E. The Instructional Design Process. New York : Harper & Row, Publishers, 1985
Schramm, Wilbur. "Procedure and Effects of Msaa Communication. "Mass Media and Education.
The Fifty - Third Yearbook of the National Society for the National Society for the Study of
education, Part II . Edited by Nelson B. Henry. Chicago : University of Chicago Press, 1954.
Shannon, laude E. and Weaver, Warren. The Mathematical Theory of Communication Champaign :
the UniversityofIllinois, 1949
Wittich, Walter Arno And Schuller, Charles Francis. Audiovisual Materials :
Their Nature and Use. 4 th ed. New York : Harper & Row , 1968
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
- ปัญหาผู้สอน
- ปัญหาผู้เรียน
- ปัญหาด้านเนื้อหา
- ปัญหาด้านเวลา
- ปัญหาเรื่องระยะทาง
นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย

คณะกรรมการด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้
1 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2 เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
3 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
4 เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
5 เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
6
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา

บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ
2. บทบาทด้านการพัฒนา
3. บทบาทด้านทรัพยากร
4. บทบาทด้านผู้เรียน
จาก Domain of Education Technology จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย
1 การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
1.1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน
1.1.2 การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ และการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่ดี
1.1.3 การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.4 การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์

1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร

2 การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton) ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง ในระบบการสอน จึงจะต้องมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย
2.1 การวิจัย ในการพัฒนาทรัพยากรการเรียนเป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้า และทดสอบเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎี (ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัย) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบระบบการสอนและผู้เรียน การวิจัยเป็นการพัฒนาโครงสร้างของความรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจในการดำเนินการผลของการวิจัยคือ ได้ความรู้ ซึ่งจะนำไปใช้ ศึกษาค้นคว้าข้อมูล อ่านข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล ทดสอบข้อมูล วิเคราะห์และทดสอบผลลัพธ์ที่ได้
2.2 การออกแบบ เป็นการแปลความหมาย ความรู้ในหลักการทฤษฎีออกมาในรายละเอียด เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยาการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน ผลลัพธ์ของการออกแบบได้แก่รายละเอียดเฉพาะสำหรับผลิตผลของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนในเรื่องเกี่ยวกับ รูปแบบหรือแหล่ง หรือทรัพยากรกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนวัตถุประสงค์ ศึกษาลักษณะผู้เรียน วิเคราะห์งาน กำหนดเงื่อนไขการเรียนกำหนดสภาวการเรียน กำหนดรายละเอียดทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอน
2.3 การผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลความหมาย ข้อกำหนดรายละเอียดสำหรับ ทรัพยาการการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอนให้เป็นแบบลักษณะเฉพาะ หรือเป็นรายการที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบ ข้อทดสอบ แบบจำลอง กิจกรรมที่ดำเนินงาน ได้แก่ การใช้เครื่องมือสำหรับการผลิต การเขียนแบบ การร่างแบบ การเขียนเรื่องหรือเค้าโครง สร้างแบบจำลอง
2.4 การประเมินผล มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดประเมินผลการดำเนินงานของทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน และเพื่อพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ทดสอบ ผลลัพธ์ที่ได้ การประเมินผลการออกแบบ ประสิทธิผลของทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบระบบการสอนที่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด การประเมินผลที่ได้ ทรัพยากรการเรียน หรือองค์ประกอบการเรียนที่เชื่อถือยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินผลเพื่อการประเมินผล เช่น ประเมินผลแบบจำลอง การประเมินผลเพื่อการเลือก …ประเมินผลเพื่อการใช้ ทรัพยากรการเรียนที่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด กิจกรรมในการดำเนินงานใช้วิธีการวิเคราะห์คุณภาพ มีเกณฑ์มาตรฐานเป็นเครื่องกำหนด
2.5 การให้ความช่วยเหลือ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบระบบการสอน เอื้ออำนวยต่อองค์ประกอบหน้าที่อื่น ๆ ผลลัพธ์ที่ได้คือการสั่งจอง การจัดหาการแยกประเภทจัดหมวดหมู่ การทำแคตตาลอก การกำหนดตารางเรียน ตารางการใช้ การจำหน่ายจ่ายแจก การใช้เครื่องมือ การบำรุงรักษา และการซ่อมแซมเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน/องค์ประกอบการสอน กิจกรรมที่ดำเนินการคือ การสั่ง การจัดคลังอุปกรณ์ การจัดหมวดหมู่ การทำแคตตาลอก การทำตารางสอน การจำหน่ายแจกจ่าย การใช้เครื่อง การซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพยากรการเรียน
2.6 การใช้ เป็นเรื่องของการใช้วัสดุ เครื่องมือ เทคนิคการวิจัยและการประเมินผล เพื่อให้การจัดการศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิผล ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนมีการเลือก เช่น การเลือกวัตถุประสงค์การสอน การเลือกทรัพยากรการเรียน การกำหนดขนาดกลุ่ม-กลุ่มใหญ่-กลุ่มเล็ก หรือการเรียนแบบรายบุคคล มีการเตรียมการ เช่น เตรียมทรัพยากรการเรียนเตรียมผู้เรียน เตรียมชั้นเรียน มีการนำเสนอ และการประเมินผลการเรียน อันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งการสอนซ่อมเสริมสำหรับผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนไม่ได้มาตรฐานเท่าระดับชั้น หรือผู้เรียนที่มีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับส่วนบุคคล เป็นต้น

3 ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)
ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
1 ข้อสนเทศ/ข่าวสาร (Message) คือ ข้อสนเทศที่ถ่ายทอดโดยองค์ประกอบอื่น ๆ ในรูปแบบของความจริง ความหมาย และข้อมูล
2 บุคคล (People) ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอดข้อสนเทศและข่าวสาร เป็นคณะบุคคลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ได้แก่ ครู นักการศึกษา นักวิชาการ
3 ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเตรียมงาน ปรับปรุง ผลิต ดำเนินการประเมินผลและพัฒนา เพื่อให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ
4 วัสดุ(Material) ได้แก่สิ่งของ นิยมเรียนว่า software มี 2 ประเภท คือ
ก ประเภทที่ที่บรรจุหรือบันทึกข่าวสารที่จะต้องถ่ายทอดด้วยเครื่องมือ เช่น แผ่นเสียง ฟิลม์สตริป สไลด์ ภาพยนตร์ วิดิโอเทป ไมโครฟิลม์ ไมโครพิช ฯลฯ
ข ประเภทที่ตัวของมันเองใช้ได้ และไม่ต้องพึ่งเครื่องมือ เช่น แผนที่ ลูกโลกหนังสือ ของจริง ของจำลอง ฯลฯ เป็นต้น

5 เครื่องมือ (Devices) เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นตัวถ่ายทอดข่าวสารที่บรรจุหรือบันทึกไว้ในวัสดุ (นิยมเรียกว่า Hardware) ส่วนมากจะเป็นเครื่องกลไก ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิค บางอย่างก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องกลไกที่ใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องอิเลคทรอนิค ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง กล้องถ่ายรูป-ถ่ายภาพยนตร์-โทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ และอ่านไมโครฟิล์ม/ไมโครพิช กระดานดำ ป้ายนิเทศ
6 เทคนิค (Techniques) เป็นกลวิธีในการถ่ายทอดข่าวสารหรือเสนอเนื้อหาวิชา-ความรู้ให้แก่ผู้เรียน ได้แก่
ก เทคนิคทั่วไป (Gerneral Technique) ได้แก่ เทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น การสาธิต การสังเกต การอภิปราย การแสดงนาฎการ การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติการเรียน แบบแก้ปัญหา หรือแบบค้นพบและแบบสอบสวน และสืบสวน การเรียนการสอนแบบโปรแกรม สถานการจำลอง เกมต่างๆ การเรียนการสอนแบบโครงการ ฯลฯ
ข เทคนิคการใช้ทรัพยากร (Resource-based Techniques) ได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การใช้ทรัพยากรชุมชน การจัดห้องเรียน
ค เทคนิคการใช้วัสดุและเครื่องมือ (Material/devices-based Techniques) เป็นเทคนิคของการใช้วัสดุและเครื่องมือในการจัดการศึกษา และการเรียนการสอนเช่น ใช้โสตทัศนูปกรณ์ในการเรียนการสอนใช้บทเรียนแบบโปรแกรมตลอดจน เทคนิคการเสนอเนื้อหาวิชาด้วยวิธีการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ด้วยวิธีการเสนอที่ดีเช่น ใช้วิธีบังภาพบางส่วนที่ยังไม่ใช้ก่อนเมื่อใช้จึงเปิดส่วนนั้นออกมา หรือเทคนิคการใช้สื่อประสมเพื่อให้ผู้เรียนได้ความคิดรวบยอดที่กระจ่างจากตัวอย่าง หรือการแสดงด้วยสื่อหลายชนิด
ง เทคนิคการใช้บุคคล (People-based Technique) ได้แก่ เทคนิคในการจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงาน เช่น การสอนเป็นคณะ เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ หรือพลวัตรของกลุ่ม การสอนแบบซ่อมเสริม ตัวต่อตัว หรือการสัมมนา ฯลฯ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนอย่างหนึ่ง ควรจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียน เพื่อที่จะประกอบการศึกษา ค้นคว้า หรือการเรียนในรูปแบบต่างๆ
4 ผู้เรียน (Learner) จุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่รงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน อันจะทำให้เราสามารถที่จะออกแบบระบบการเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน หรือสนองวัตถุประสงค์ผู้เรียน ได้ให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีสิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น เกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับไอคิว ประสบการณ์เดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติระดับความสามารถในการอ่าน คะแนนการทดสอบสุขภาพทางด้านการฟัง การพูดมีความบกพร่อง ทางด้านกายภาพอื่น ๆ บ้างหรือไม่ สุขภาพจิต สุขภาพทางร่างกายโดยทั่วไป ความสนใจพิเศษ งานอดิเรก ความคล่องแคล่วในภาษา ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม สัมพันธ์ของผู้เรียน สภาพทางครอบครัวอยู่ในชนบทหรือเมือง ความเจริญก้าวหน้าของการเรียนในวิชาต่างๆ แบบวิธีการเรียน เรียนเร็วช้า ความตั้งใจ เป็นแบบเป็นแผนหรือแบบยืดหยุ่น แบบแนะแนวหรือแบบเรียนได้ด้วยตนเอง ลักษณะงานและการประกอบกิจที่เหมาะสม ความสนใจในวิชาชีพ ทักษะการอ่านภาพ และการฟังความ ฯลฯ เป็นต้น
ประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา
เมื่อกล่าวถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีการศึกษา สามารถแบ่งออกได้เป็นด้านๆดังนี้
1 ) ประโยชน์สำหรับผู้เรียน ผู้เรียนจะได้รับประโยชน์ดังนี้
1 ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
2 ผู้เรียนมีโอกาสตัดสินใจในการเลือกเรียนตามช่องทางที่เหมาะกับความสามารถของตนเอง
3 ทำให้กระบวนการเรียนรู้ง่ายขึ้น
4 ผู้เรียนมีอิสระในการเลือก
5 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ในทุกเวลา ทุกสถานที่
6 ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
7 ลดเวลาในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่าเดิมในเวลาเท่ากัน
8 ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งในแนวกว้างและแนวลึก
9 ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเสาะหาแหล่งการเรียนรู้
10 ฝึกให้ผู้เรียน คิดเป็นและสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้


2 ) ประโยชน์สำหรับผู้สอน ผู้สอนจะได้ประโยชน์ดังนี้
1 ทำให้ประสิทธิภาพของการสอนสูงขึ้น
2 ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลาย
3 ทำให้ผู้สอนมีเวลามากขึ้น จึงไช้เวลาที่เหลือในการเตรียมการสอนได้เต็มที่
4 ทำให้กระบวนการสอนง่ายขึ้น
5 ลดเวลาในการสอนน้อยลง
6 สามารถเพิ่มเนื้อหาและจุดมุ่งหมายในการสอนมากขึ้น
7 ผู้สอนไม่ต้องใช้เวลาสอนทั้งหมดอยู่ในชั้นเรียนเพราะบทบาทส่วนหนึ่งผู้เรียนทำเอง
8 ผู้สอนสามารถแก้ปัญหาความไม่ถนัดของตนเองได้
9 ผู้สอนสามารถสอนผู้เรียนได้เนื้อหาที่กว้างและลึกซึ้งกว่าเดิม
10 ง่ายในการประเมิน เพราะการใช้เทคโนโลยี มุ่งให้ผู้เรียนประเมินตนเองด้วย


3 ) ประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ในแง่ของการจัดการศึกษาจะได้รับประโยชน์ดังนี้
1 สามารถเปิดโอกาสของการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง
2 ทำให้ลดช่องว่างทางการศึกษาให้น้อยลง
3 สามารถสร้างผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
4 ทำให้การจัดการและการบริหารเป็นระบบมากขึ้น
5 ทำให้ลดการใช้งบประมาณและสามารถใช้งบประมาณที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
6 สามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้หลายประการ

ลูกชายผู้ทำให้เกิดเรื่อง...หรรษา...ประจำ

ลูกชายผู้ทำให้เกิดเรื่อง...หรรษา...ประจำ
เด็กชายภัคธร เย็นเยือก (ผู้นำพาแต่สิ่งที่ดีงาม)

ครอบครัวแสนหรรษา

ครอบครัวแสนหรรษา
ครอบครัวนี้เป็นครอบครัวที่มีแต่เรื่องราวที่น่าจดจำ